วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม เวลา 8.30 น. - 11.30 น.




                  เรื่อง หลักการเบื้องต้นในการให้การศึกษา                      แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย



การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย      

เป็นนโยบายสำคัญของการจัดการศึกษาในปัจจุบัน การให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจะช่วยให้พ่อแม่ ผู้ปกครองได้เรียนรู้และเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อให้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการพัฒนาเด็ก และทำให้การศึกษาของเด็กระหว่างที่บ้านกับโรงเรียนเป็นไปทางเดียวกัน  และเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กกับทางโรงเรียน

ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง

- Linda Bierstecker.1192  คือ การให้ผู้ปกครองเข้าใจว่าเด็กทำกิจกรรมอะไรที่โรงเรียนบ้าง เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจวิิธีการช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการต่างๆ และการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เช่น การให้ความรู้เข้าใจในช่วงปฐมนิเทศ ผู้ปกครองต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ และครูควรบอกสิ่งที่ผู้ปกครองต้องให้ความร่วมมือกับกิจกรรมของเด็กในการมาโรงเรียน

- ฉันทนา ภาคบงกช (2531) คือ การอบรมเลี้ยงดูเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นการทำความเข้าใจ และบทบาทหน้าที่ในการร่วมมือกันพัฒนาเด็กโดยใช้สื่อต่างๆ เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติของเด็ก และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆได้ถูกต้องและสอดคล้องกัน

- กุลยา ตันติผลาชีวะ (2544)  คือ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเลี้ยงดูเด็กให้ถูกต้องและมีพัฒนาการที่ดี การจัดการศึกษาอาจกำหนดเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับโรงเรียนและพัฒนาเด็กให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาได้มีประสิทธิภาพ

สรุปการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

การให้ความรู้อบรมเลี้ยงดูเด็ก เป็นกระบวนการทางสังคมที่ถ่ายทอดความรู้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม และเป็นการเตรียมตัวที่จะนำวิธีการดูแล อบรมเลี้ยงดู ให้การศึกษากับเด็กได้อย่างมีคุณภาพและมีประสบการณ์ที่ดี

ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง

- Verma (1972)  คือ การให้ความรู้ผู้ปกครองช่วยให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาซึ่งกันและกันและช่วยลดปัญหาขัดแย้ง

- Galen (1991) คือ การให้ความรู้ผู้ปกครอง จะช่วยให้ผู้ปกครองได้รับข้อมูลที่ดีในการเลี้ยงดู และเกี่ยวข้องกับการศึกษาจะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จ

- อรุณ หรดาล (2536) คือ การช่วยผู้ปกครองเข้าใจพัฒนาการเด็กและเข้าใจวิธีการอบรมเลี้ยงดู เข้าใจการกระทำของตนเองที่จะมีผลต่อเด็ก  ฝึกทักษะ เทคนิคและการจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้ถูกต้อง มีความเข้าใจในการมีส่วนร่วมของการจัดการศึกษาและสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและผู้ปกครอง จะส่งผลดีต่อเด็กได้โดยตรง

สรุปความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง

เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กและเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วยสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก

วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง

- Linda Bierstecker (1992) เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจวิธีการดูแลเด็กและการจัดกิจกรรมของโรงเรียนว่าในแต่ละวันเด็กทำอะไรบ้าง และเข้าใจความต้องการของเด็ก ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กได้ถูกต้อง

สรุปวัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง

เพื่อให้เข้าใจวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กและส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เด็ก และได้รับรู้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาร่วมกัน

รูปแบบการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

1. การให้ความรู้แบบทางการ เช่น การบรรยาย การอภิปราย การโต้วาที เป็นต้น                                         2. การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลมและการประชุมกลุ่มย่อย


รูปแบบการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง

- อรุณี หรดาล (2536) รูปแบบการให้ความรู้ที่เหมาะสมควรมีลักษณะผสมผสานรูปแบบรหว่างแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีอยู่ 5 ลักษณะ

1. เป็นรายบุคคล ส่วนมากจะจัดแบบไม่เป็นทางการ เช่น การเยี่ยมบ้าน การสนทนาซักถาม เป็นต้น

- ฉันทนา ภาคบงกช (2531) ได้แบ่งรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองแบบผสมผสาน เป็น 4 ระดับ

1. ระดับห้องเรียน
2. ระดับโรงเรียน
3. ระดับชุมชน
4. ระดับมวลชน

แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

- ฉันทนา ภาคบงกช (2531) เสนอแนวทางในการให้ความรู้ ดังนี้

1. สำรวจความสนใจ ความต้องการ ปัญหาต่างๆ โดยการสัมภาษณ์หรือแบบสอบถาม
2. จัดบริการต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ปกครอง เช่น การเชิญวิทยากรมาบรรยาย เป็นต้น


การมีส่วนร่วมของสังคม ถ้าอะไรอย่างหนึ่งไม่ส่งเสริมร่วมกัน ก็จะทำให้หยุดชะงักไปด้วยกัน

แนวทางปฏิบัติการศึกษา

1. รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกของผู้ปกครองที่มีต่อเด็ก
2. ขณะพูดคุยกับผู้ปกครอง ควรพูดถึงแต่สิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาได้มากขึ้น
3. ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือศัพท์วิชาการในการอธิบายพูดคุยกับผู้ปกครอง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้     


- นำไปปรับใช้ได้ในการเรียนรู้ประกอบวิชาชีพ
- สามารถนำไปปฏิบัติได้ในอนาคต
- แนะนำความรู้สู่ผู้อื่นได้และเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตประจำวัน

การประเมินผล     


ประเมินตนเอง

- ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จดบันทึกความรู้ระหว่างเรียน และรับฟังคำแนะนำของอาจารย์ แสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนๆ

ประเมินเพื่อน

- เพื่อนๆตั้งใจฟัง แต่อาจไม่สนใจกันบางครั้ง จดบันทึกความรู้ระหว่างเรียน แสดงความคิดเห็นร่วมกัน

ประเมินอาจารย์

- อาจารย์อธิบายความรู้ได้ละเอียด และยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายมากขึ้น และคอยแนะนำความรู้เพิ่มเติมให้ศึกษาอยู่เสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น