การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
เกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสาร
เกมสื่อความหมาย |
วิธีการเล่นเกม คือ ให้นักศึกษาแบ่งเป็น 2 ทีม และให้คนแรกออกมาดูประโยคที่ได้ และนำไปทำท่าทางส่งต่อให้เพื่อนๆ
จนคนสุดท้าย และให้คนสุดท้ายออกมาทำท่าทางและบอกประโยคนั้น
เกมทายคำ |
วิธีการเล่นเกม คือ ให้นักศึกษาแบ่งเป็น 2 ทีม และให้คนแรกออกมาดูประโยคที่ได้ และชูให้คนใบ้คำดู ส่วนคนทายคำยืนหันหลังและต้องดูท่าทางของคนใบ้คำ และบอกคำๆนั้นให้ได้เร็วที่สุด ทีมไหนได้เวลาน้อยกว่าทีมนั้นชนะ
เกมพรายกระซิบ |
วิธีการเล่นเกม คือ ให้นักศึกษาแบ่งเป็น 2 ทีม และให้คนแรกออกมาดูประโยคที่ได้ และนำไปบอกต่อเพื่อนๆ โดยเวลาจะเร็วขึ้นเรื่อยๆ และให้คนสุดท้ายบอกว่าประโยคนั้นคืออะไร
เกมส่งเสริมการสื่อสาร |
วิธีการเล่นเกม คือ ให้นักศึกษาแบ่งเป็น 2 ทีม และให้แต่ละคนเลือกหัวเรื่องที่เอา และให้คิดคำ 5 คำที่เกี่ยวกับประโยคนั้น เมื่อคิดเสร็จให้แต่ละคนอ่านคำแรกของแต่ละเรื่องไปเรื่อยๆ
ความรู้ที่ได้รับ คือ การสื่อสารนั้นมีหลายรูปแบบซึ่งแต่ละแบบจะแฝงวัจนภาษาและอวัจนภาษา คำพูดบางอย่างจะต้องใช้ปัจจัยหลายอย่าง
ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา
โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
ความสำคัญของการสื่อสาร
ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ และช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์
เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
รูปแบบของการสื่อสาร
รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล คือ มีผู้พูด , คำพูด , ผู้ฟัง
รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล คือ ใคร = ผู้ส่งสาร , กล่าวอะไร = สาร , ผ่านช่องทางใด = สื่อ , ถึงใคร = ผู้รับสาร , เกิดผลอะไร = ผล
รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ คือ แหล่งสารสนเทศ , ตัวถ่ายทอด , สาร , ผู้รับสาร , ผู้รับสารปลายทาง
รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ คือ สาร , ถอดรหัส - ตีความ - เข้ารหัส , สาร , ถอดรหัส - ตีความ - เข้ารหัส , สาร
รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล คือ ผู้ส่งสาร , สาร , ช่องทาง , ผู้รับสาร
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร
2.
ข้อมูลข่าวสาร
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร
4. ผู้รับข่าวสาร
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
- ผู้จัดกับผู้ชม
- ผู้พูดกับผู้ฟัง
- ผู้ถามกับผู้ตอบ
- คนแสดงกับคนดู
- นักเขียนกับนักอ่าน
- ผู้อ่านข่าวกับคนฟังข่าว
- คนเล่านิทานกับคนฟังนิทาน
สื่อ
ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ
รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง
ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน
คลื่นวิทยุโทรทัศน์
สาร
เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น
ข้อเท็จจริง ข้อแนะนำ การล้อเลียน
ความปรารถนาดี ความห่วงใย มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้
การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ
และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ ผู้ส่งสารจะแจ้ง
หรือบอกกล่าวข่าวสาร ข้อมูล เหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด
สติปัญญา
ฉะนั้นจึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอนหรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการโดยเฉพาะ
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ
มุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมรับปฏิบัติตาม
ประเภทของการสื่อสาร
3 ประการ
คือ1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.1 การสื่อสารทางเดียว คือ การสื่อสารที่ข่าวสารจะถูกส่งจากผู้ส่งไปยังผู้รับในทิศทางเดียว
1.2 การสื่อสารสองทาง คือ การสื่อสารที่มีการส่งข่าวสารตอบกลับไปมาระหว่างผู้สื่อสาร
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
2.1 การสื่อสารเชิงวัจนะ คือ การสื่อสารด้วยการใช้ภาษาพูด
2.2 การสื่อสารเชิงอวัจนะ คือ การสื่อสารโดยใช้สัญญาณอื่น เช่น ภาษาท่าทาง
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
3.1 การสื่อสารส่วนบุคคล
3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล
3.3 การสื่อสารมวลชน
การสื่อสารกับตนเอง
- การสื่อสารที่บุคคลเดียวเป็นทั้งผู้ส่งสารและรับสาร การคิดหาเหตุผลโต้แย้งกับตนเองในใจเนื้อหาไม่มี
ขอบเขตจำกัดบางครั้งมีเสียงพึมพำดังออกมาบ้างบางครั้งเกิดความขัดแย้งในใจและไม่อาจตัดสินใจได้
อาจเป็นการปลอบใจตนเอง
การเตือนตนเอง การวางแผน หรือแก้ปัญหาใดๆ
การสื่อสารระหว่างบุคคล
- เป็นเรื่องเฉพาะระหว่างบุคคล
อาจไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น อาจเป็นความลับระหว่าง
ผู้ส่งสารกับผู้รับสารเท่านั้น สารที่สื่ออาจเปิดเผยหากมีประโยชน์ต่อบุคคลอื่น
การสื่อสารสาธารณะ
- มีเป้าหมายจะส่งสารสู่สาธารณชน มีเนื้อหาที่อาจให้ความรู้และเป็นประโยชน์
ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
เป็นความคิดที่มีคุณค่าและเปิดเผยได้โดยไม่จำกัดเวลา เช่น การบรรยาย
การปาฐกถา การอมรม
การสอนในชั้นเรียน
การสื่อสารมวลชน
- ลักษณะสำคัญคล้ายการสื่อสารสาธารณะ ต้องอาศัยสื่อที่มีอำนาจการกระจายสูง
รวดเร็ว กว้างขวาง
เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียมและสื่อมวลชนต้องคัดเลือกเฉพาะข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นที่เห็นว่าควร
นำเสนออาจสนองความต้องการและความจำเป็นของมวลชนมากหรือน้อยได้
การสื่อสารในครอบครัว
- เป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ประสิทธิภาพของการสื่อสารขึ้นอยู่กับความตั้งใจดีของสมาชิก
ในครอบครัวคุณธรรมที่ดีงามในครอบครัวจะช่วยพัฒนาการสื่อสารไปในทางดีงามเสมอต้องยอมรับและ
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่แตกต่างกัน
การสื่อสารในโรงเรียน
- ส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารกับบุคคลที่คุ้นเคย
เนื้อหามักเกี่ยวกับวิชาการ
พื้นฐานอาชีพและหลักการดำเนินชีวิตมีทั้งการสื่อสารระหว่างบุคคล
การสื่อสารในกลุ่มและการสื่อสารสาธารณะอาจใช้เวลานานเพราะเรื่องราวมีปริมาณมาก
อาจมีโอกาสโต้แย้งถกเถียง
ควรยอมรับข้อเท็จจริงและไม่ใช้อารมณ์ข้อเท็จจริงและข้อสรุป
บางเรื่องไม่ควรนำไปเผยแพร่
บางเรื่องไม่ควรนำไปเผยแพร่
ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
- เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็กเรียนรู้ได้ดี มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์
ต่อเด็กเรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่
สุดควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
1.ความพร้อม คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้พื้นฐานประสบการณ์เดิม สร้างความสนใจเห็นเห็นถึงความสำคัญของความรู้ ส่งเสริมความเชื่อมั่นในการเรียนรู้
2. ความต้องการ คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข เช่น ต้องการให้ลูกมีสุขภาพ
ที่แข็งแรง มีการศึกษาที่ดี
3. อารมณ์และการปรับตัว คือ แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มี 2 ประเภทคือ อารมณ์ทางบวก เช่น ดีใจ พอใจ อารมณ์ทางลบ เช่น โกรธ เสียใจ หงุดหงิด
4. การจูงใจ หมายถึง การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
5. การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง
6. ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ
อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร
- ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี
เช่นใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจ หรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
ข้อมูลข่าวสารมากเกินไปได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์
ทำให้สื่อความหมายผิดๆข้อมูล
ที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอนเลือกใช้เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม
รีบเร่งด่วนสรุปข่าวสารเร็วเกินไป
ขาดการไตร่ตรอง ผู้ส่งหรือผู้รับมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง
ไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
คุณธรรมในการสื่อสาร
- ความดีงามที่มีอยู่ในตัวบุคคล ต้องประกอบด้วยเหตุผลที่ดีของแต่ละบุคคลเกิดจากการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก
เกิดจากการได้เห็น
ได้ยิน ได้อ่านและเกิดจากการได้เห็นพฤติกรรมของคนที่เคารพรักเป็นแบบอย่าง
วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง
- ศึกษาและพยายามทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง
- พยายามเรียนรู้ความต้องการของเขา
และหาแนวทางตอบสนองตามความเหมาะสม
- พูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ
- หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา
เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครอง
- ทำตนให้กลมกลืนกับผู้ปกครอง
- มีท่าทีเป็นมิตรอยู่เสมอ
- เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม
สรุป
การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครอง
ประสบผลสำเร็จ ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสาร การศึกษาธรรมชาติและการเรียนรู้
ของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียนรู้
เพื่อที่จะได้ทำการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ดี
คำถามท้ายบท
1. จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ - ความหมาย คือ การส่งข่าวสาร ข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
- ความสำคัญ คือ ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่ายทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ และเป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
ตอบ - ผู้ปกครองจะได้รับรู้ข่าวสาร เข้าใจเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และเป็นการสร้างมิตรภาพ เกิดความเข้าใจกันทั้ง 2 ฝ่าย
3. รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ - รูปแบบการสื่อสารแบบอริสโตเติล คือ มีผู้พูด - คำพูด - ผู้ฟัง เช่น การประชุมผู้ปกครอง จะมีครูเป็นผู้พูดสิ่งที่ต้องการสื่อสารให้ผู้ปกครองรับรู้ผ่านคำพูดต่างๆ และมีผู้ปกครองเป็นผู้ฟัง
4. ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ - เรียนรู้ได้ดีจากพัฒนาการของเด็ก มีการฝึกปฏิบัติที่แปลกใหม่และมีประโยชน์สำหรับเด็ก ไม่เน้นวิชาการ มีความต่อเนื่องในการเรียนรู้แต่ละขั้น และมีอุปกรณ์สื่อที่หลากหลาย
5. ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ - 1. ความพร้อม 2. ความต้องการ 3. อารมณ์และการปรับตัว 4. การจูงใจ 5. การเสริมแรง 6. ทัศนคติและความสนใจ
คำถามท้ายบท
1. จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ - ความหมาย คือ การส่งข่าวสาร ข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
- ความสำคัญ คือ ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่ายทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ และเป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
ก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
2. การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไรตอบ - ผู้ปกครองจะได้รับรู้ข่าวสาร เข้าใจเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และเป็นการสร้างมิตรภาพ เกิดความเข้าใจกันทั้ง 2 ฝ่าย
3. รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ - รูปแบบการสื่อสารแบบอริสโตเติล คือ มีผู้พูด - คำพูด - ผู้ฟัง เช่น การประชุมผู้ปกครอง จะมีครูเป็นผู้พูดสิ่งที่ต้องการสื่อสารให้ผู้ปกครองรับรู้ผ่านคำพูดต่างๆ และมีผู้ปกครองเป็นผู้ฟัง
4. ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ - เรียนรู้ได้ดีจากพัฒนาการของเด็ก มีการฝึกปฏิบัติที่แปลกใหม่และมีประโยชน์สำหรับเด็ก ไม่เน้นวิชาการ มีความต่อเนื่องในการเรียนรู้แต่ละขั้น และมีอุปกรณ์สื่อที่หลากหลาย
5. ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ - 1. ความพร้อม 2. ความต้องการ 3. อารมณ์และการปรับตัว 4. การจูงใจ 5. การเสริมแรง 6. ทัศนคติและความสนใจ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- นำไปปรับใช้ได้ในการเรียนรู้ประกอบวิชาชีพ เช่น การสื่อสารในชีวิตประจำวัน
- สามารถนำไปปฏิบัติในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
- แนะนำความรู้สู่ผู้อื่นได้และเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตประจำวัน
การประเมินผล
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จดบันทึกความรู้ระหว่างเรียน และรับฟังคำแนะนำของอาจารย์ แสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนๆ มีเกมให้เล่นระหว่างเรียนสนุกมากค่ะ
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆตั้งใจฟัง แต่อาจไม่สนใจกันบางครั้ง จดบันทึกความรู้ระหว่างเรียน แสดงความคิดเห็นร่วมกัน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์
- อาจารย์อธิบายความรู้ได้ละเอียด และยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายมากขึ้น และคอยแนะนำความรู้เพิ่มเติมให้ศึกษาอยู่เสมอ ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น